ความแตกต่างกรณีอดีตพระยันตระ


ความแตกต่างกรณีอดีตพระยันตระ
จากกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 21 (..2538)

ข้อ 4. ในกรณีที่มีการฟ้องว่าพระภิกษุรูปใดกระทาความผิดอันเป็นครุกาบัติ เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ (..๒๕๒๑) ว่าด้วยการลงนิคหกรรมแล้ว

-มีคาสั่งประทับฟ้องเพื่อดาเนินการพิจารณาวินิจฉัยต่อไปก็ดี

-คณะผู้พิจารณาชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว ไม่ว่าจะลงนิคหกรรมหรือไม่ก็ตามและเรื่องยังอยู่ภายในกาหนดเวลาอุทธรณ์ก็ดี หรือ

-มีการอุทธรณ์ภายในกาหนดเวลาแล้ว ไม่ว่าคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์จะมีคาสั่งหรือวินิจฉัยอย่างไรก็ดี

ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นหรือคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์ แล้วแต่กรณี รายงานข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และพระธรรมวินัยที่เกี่ยวข้องต่อมหาเถรสมาคม

ในกรณีที่การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมอยู่ในชั้นฎีกา กรรมการมหาเถรสมาคมรูปใดรูปหนึ่ง อาจรายงานต่อมหาเถรสมาคมเพื่อให้ดาเนินการตามข้อนี้นอกเหนือจากการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมก็ได้

ในกรณีที่มหาเถรสมาคมพิจารณาจากรายงานดังกล่าวและพยานหลักฐานอื่นประกอบกันแล้ว เห็นว่าพระภิกษุผู้เป็นจำเลย ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเรื่องเดียวกันหรือหลายเรื่อง อันเป็นโลกวัชชะเป็นอาจิณ ทั้งความประพฤตินั้นเมื่อพิจารณาจากพฤติการณ์ที่ล่วงมาแล้ว หากให้ดำรงเพศบรรพชิตต่อไปจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่พระศาสนา และการปกครองของคณะสงฆ์ มหาเถรสมาคมมีอานาจวินิจฉัยให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศได้ ทั้งนี้ไม่กระทบต่อการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมที่กาลังดาเนินการอยู่ ไม่ว่าในชั้นใดๆ
.........................................................
จากหลักดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าไม่สามารถนำกฎ มส.ฉบับที่ 21 ข้อ 4. มาใช้กับกรณีของพระราชภาวนาวิสุทธิ์(หลวงพ่อธัมมชโย) เพราะ

1. การที่จะใช้กฎมส.ฉบับที่ 21 ข้อ 4. ได้นั้น จะต้อง เป็นเรื่องที่มีการฟ้องนิคหกรรม และนิคหกรรมนั้นยังไม่ถึงที่สุด คือยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของทางคณะผู้พิจารณาชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์ หรือชั้นฎีกา

แต่ กรณีของหลวงพ่อธัมมชโยนั้น ไม่สามารถนำกฎมส.ฉบับที่ 21 ข้อ 4. มาใช้ได้ เนื่องจากนิคหกรรมได้ถึงที่สุดไปแล้ว รายละเอียดปรากฏตามมติมส.เมื่อคราวประชุมวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 

2. การที่จะใช้กฎมส.ฉบับที่ 21 ข้อ 4. ได้นั้น จะต้องใช้กับพระภิกษุผู้ตกเป็นจำเลยแล้ว แต่กรณีของหลวงพ่อธัมมชโยนั้นยังเป็นแค่ผู้ถูกกล่าวหา ยังไม่ได้เป็นจำเลย

ส่วนคณะผู้พิจารณาชั้นต้นก็ดี มหาเถรสมาคมก็ดี ไม่เข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เพราะ

ในขณะที่เรื่องนิคหกรรมของหลวงพ่อธัมมชโยยังอยู่ในชั้นของคณะผู้พิจารณาชั้นต้นนั้น ยังไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่คณะผู้พิจารณาชั้นต้นจะต้องทำรายงานข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และพระธรรมวินัยที่เกี่ยวข้องต่อมหาเถรสมาคม แต่อย่างใด 

เพราะการที่คณะผู้พิจารณาชั้นต้นจะต้องรายงาน จะต้องเป็นเรื่องที่ มีการประทับฟ้อง หรือผ่านการวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น หรือมีการอุทธรณ์ หรือฎีกา

แต่ กรณีนิคหกรรมของหลวงพ่อธัมมชโยยังไม่มีการประทับฟ้อง ยังไม่ผ่านการวินิจฉัยของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น และไม่อยู่ในระหว่างอุทธรณ์ ฎีกา แต่อย่างใด ดังนั้น จึงไม่มีประเด็นให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นต้องรายงานมส. มส.จึงไม่ต้องมาพิจารณารายงาน และพยานหลักฐานอื่นประกอบ ตามวรรคสามของข้อ 4. ข้างต้น แต่อย่างใด จึงไม่อาจจะกล่าวหาคณะผู้พิจารณาชั้นต้น หรือมส.ว่ามีการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ได้

ส่วนกรณีของอดีตพระยันตระ นั้น

ได้มีการกล่าวหานิคหกรรมพระยันตระ และพระยันตระอยู่ในฐานะจำเลยแล้ว และขณะที่เรื่องยังอยู่ในระหว่างการพิจารณานิคหกรรมนั้น มหาเถรสมาคมได้ใช้อำนาจตามกฎ มส.ฉบับที่ 21 ข้อ 4. พิจารณาวินิจฉัยให้พระยันตระสละสมณเพศก่อน
ความแตกต่างกรณีอดีตพระยันตระ ความแตกต่างกรณีอดีตพระยันตระ Reviewed by Unknown on 06:51:00 Rating: 5

1 ความคิดเห็น:

  1. หลวงพ่อธัมมชโยแตกต่างกรณีอดีดพระยันต์ตะ เพราะคดีก็จบแล้ว คุณไพบูลย์เอาเวลาไปสงบสติ ทำประโยชน์ให้กับครอบครัว อย่าทำความหน้ารำครานให้สังคมพุทธ หยุดเทอด

    ตอบลบ

Sponsor

ขับเคลื่อนโดย Blogger.